วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560






รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพรกับบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ

         ใช้เป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส และสีของอาหาร  วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ในอาหารหลายชนิดนิยมใช้เครื่องปรุงแต่งรส เพิ่มความหอม ดับกลิ่นคาว เพิ่มรสเผ็ดร้อน และสีสัน ทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และทำให้เจริญอาหารขึ้นด้วย เมื่อกินข้าวมันไก่ก็มักกินกับหัวหอม ต้นหอม พริก ขิง พริกไทย เมื่อกินข้าวขาหมูก็จะกินกับกระเทียมและพริก เมื่อกินอาหารประเภทยำและทอดก็จะกินกับต้นหอม พริก ขิง เมื่อทำต้มยำก็จะใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกลงไป ในแกงผัดเผ็ดก็มักจะใส่ใบมะกรูด พริก พริกไทย ใบกะเพราลงไปด้วย ในแกงเผ็ดก็ใส่ใบโหระพา ในแกงเลียงจะใส่หัวหอม พริกไทย ใบแมงลัก และในอาหารเกือบทุกมื้อก็มักจะมีผักจิ้มกับน้ำพริก เช่น พวกมะเขือ ผักบุ้ง ถั่วพู ถั่วฝักยาว แค มะระ หัวปลี มะเขือพวง  เป็นต้น


สมุนไพรกับบทบาทในวิถีการบริโภคและการเข้าถึงของคนไทย
         
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ       
  แม้ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วไปจะมีพืช ผัก ผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีสรรพคุณทางยา แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเข้าถึงเรื่องการปลูกไว้ในครัวเรือน หรือการหามาได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพงเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายหรือไม่







สมุนไพรกับบทบาทความสะดวกสบายของผู้บริโภค





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
         

           
          ชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้ครอบครัวคนไทยประกอบอาหารกินกันน้อยลง มักจะหาอาหารสำเร็จรูปมากินกันมากกว่า และอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกก็ส่งผลให้เด็ก วัยรุ่น และหนุ่มสาวหันมาบริโภคอาหารพวกแป้ง ขนมปัง ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า กันมากขึ้น ซึ่งสารอาหารส่วนใหญ่จะเป็นพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนในปริมาณสูง จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องความอ้วน มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเป็นเช่นนี้การส่งเสริมสุขภาพร่างกายด้วยสมุนไพรก็จะมีบทบาทลดน้อยลงไปด้วย











http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/



สมุนไพรกับบทบาทของลักษณะที่อยู่อาศัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ        
        ปัจจุบันบ้านเรือนในเขตเมืองของคนไทยมักไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักสวนครัว และคนส่วนใหญ่ก็ไม่มีเวลามาปลูกพืชผักสวนครัว เพราะมีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบและต้องแข่งขันกัน แม้แต่เวลาที่จะไปจับจ่ายหาซื้อพืชผัก ผลไม้เหล่านี้ในตลาดก็แทบจะไม่มี หรือพืชผักเหล่านี้อาจไม่มีวางขายในตลาดก็ได้  



สมุนไพรกับบทบาทเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภค
         

            เพื่อให้ได้รับประโยชน์และคุณค่าจากการบริโภคพืชผักผลไม้ ในการส่งเสริมสุขภาพของร่างกาย แลเพื่อใช้เป็นยา ผู้บริโภคจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ




สมุนไพรกับบทบาทที่ขึ้นอยู่กับความปลอดภัย
     
     มีพืชผักพื้นบ้านอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้ศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาและทางพิษวิทยา ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายเพียงใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

     ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรม ค่านิยม แบบแผนการปฏิบัติ และสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้คนรุ่นหลังหันมานิยมบริโภคพืชผักผลไม้พื้นบ้าน และส่งเสริมการปฏิบัติจริงในทางที่เป็นไปได้


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง











สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


              พืช ผัก ผลไม้ทั่วไปหลายชนิดที่คนไทยนำมาใช้เป็นสมุนไพรนั้น โดยอาจจะนำมาประกอบเป็นอาหาร เป็นเครื่องดื่ม เครื่องปรุง อาหารเสริม และใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับร่างกายในชีวิตประจำวัน ส่วนที่นำมาใช้อาจจะเป็นราก ลำต้น ใบ ดอก หรือผลก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นพืชสวนครัวที่หาได้ไม่ยาก นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศได้ศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาเกี่ยวกับพืช ผัก ผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภค เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าในด้านส่งเสริมสุขภาพ การเกิดโทษ การใช้ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ ซึ่งคุณค่าของพืช ผัก ผลไม้ ทุกวันนี้ผู้คนก็ได้ให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น



ขอบเขตของวิทยาศาสตร์กับสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย
           
            ในบรรดาพืช ผัก และผลไม้ต่างๆ ที่คนไทยนิยมนำมาบริโภคนั้น มีผลสรุปจากการศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาว่า ส่วนใหญ่ร่างกายจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการในขนาดที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ และยังมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาว เพิ่มรสหวาน หรือความเผ็ดร้อนให้แก่อาหาร ทำให้เจริญอาหาร ช่วยขับลม และทำให้นอนหลับได้ดี


พืชที่ใช้เป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส และสีของอาหาร 

           
         จำพวกเช่นพวกหอม กระเทียม ขึ้นฉ่าย ย่านาง ข่า ขิง ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไพล กระชาย ตะไคร้ พริก พริกไทย ผักชี ยี่หร่า แมงลัก โหระพา สะระแหน่ กะเพรา อบเชยเทศ ลูกจันทน์เทศ กานพลู ดีปลี เทียนตากบ ผักชีลาว เป็นต้น


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง







พืชที่ใช้ดอกและผลเป็นอาหาร


          เช่น ยอ มะกรูด มะกอก ขี้เหล็ก มะเขือเทศ มะเขือยาว มะเขือพวง มะแว้งเครือ มะแว้งต้น มะอึก บวบเหลี่ยม บวบหอม น้ำเต้า แตงไทย แตงกวา มะระขี้นก มะระจีน ฟักเขียว ฟักทอง กระเจี๊ยบ มะละกอ มะม่วง มะพร้าว มะขาม มะขามป้อม มะตูม มะเกลือ มังคุด ขนุน น้อยหน่า ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม มะนาว สับปะรด กล้วย ขนุน สมอไทย มะรุม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแปบ ถั่วพลู เป็นต้น






รูปภาพที่เกี่ยวข้อง








 สมุนไพรไทยยอดฮิตที่ทุกคนรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันดี 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รวมพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ




ว่านหางจระเข้

          ไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา แต่ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ว่านหางจระเข้บำบัดอาการต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รวมพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
        โดย "วุ้นในใบสด" สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็คือ นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วนวุ้นในใบสดแล้ว ส่วน "ยางในใบ" ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน "เหง้า" ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้โรคหนองในได้ด้วย 

ขมิ้นชัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขมิ้น
          เรียกกันทั่วไปว่า "ขมิ้น" เป็นไม้ล้มลุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม คนนิยมนำ "เหง้า" ทั้งสดและแห้งมาใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมทั้งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง และสามารถนำขมิ้นชันมาทาภายนอก เพื่อใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด โรคผิวหนัง พุพอง รักษาชันนะตุได้ด้วย


          นอกจากนั้น "ขมิ้นชัน" ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ "คูเคอร์มิน" ที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตับ อีกทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง หรือใครที่มีแผลอักเสบ "ขมิ้นชัน" ก็มีสรรพคุณช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะมีฤทธิ์ไปลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และหากรับประทานขมิ้นชันทุกวัน ตามเวลาจะช่วยให้ความจำดีขึ้น ไม่อ่อนเพลียยามตื่นนอน และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย

กะเพรา


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
          แม้จะเป็นผักที่คนไทยนิยมสั่งมารับประทานเวลาที่นึกไม่ออก แต่ก็มีน้อยคนที่จะรู้ว่า กะเพรา มีสรรพคุณอะไรบ้าง ที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ ใบกะเพรา มีฤทธิ์ขับลม ช่วยแก้จุดเสียด แน่นท้อง แก้ปวดท้องอุจจาระ ส่วนน้ำสกัดทั้งต้น สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สำหรับเมล็ดกะเพรา ก็สามารถพอกตาให้ผงหรือฝุ่นที่เข้าตาหลุดออกมาได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้นแล้ว รากกะเพราแห้ง ๆ ยังนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแก้โรคธาตุพิการได้ด้วย

      สรรพคุณเด็ดของกะเพราอีกประการก็คือ ช่วยขับไขมันและน้ำตาล เคยสงสัยบ้างไหมล่ะ ทำไมอาหารตามสั่งต้องมีเมนูผัดกะเพราเนื้อ กะเพราไก่ กะเพราหมู นั่นก็เพราะนอกจากใบกะเพราจะช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้แล้ว ยังมีฤทธิ์ขับไขมัน และน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย อีกทั้ง กะเพราจะช่วยขับน้ำดีในตับออกมาให้ช่วยย่อยไขมันได้ดีขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น หากบอกว่า รับประทานกะเพราแล้วจะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ ก็คงไม่ผิดนัก


ว่านชักมดลูก

          มาที่พืชสมุนไพรสำหรับสาว ๆ กันบ้าง แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้ว เหมาะกับคุณสุภาพสตรีเป็นที่สุด เพราะเหง้าของว่านชักมดลูกมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือนในสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ส่วนผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร ว่านชักมดลูกก็จะช่วยบีบมดลูกให้เข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลา และรักษาโรคมดลูกพิการปวดบวมได้ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ว่านชักมดลูก


          นอกจากนั้น ว่านชักมดลูก ยังแก้ริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อน แก้โรคลม รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ขณะที่รากของว่านชักมดลูกสามารถใช้แก้ท้องอืดเฟ้อได้อีกต่างหาก 


กระเจี๊ยบแดง


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
          หลายคนนำใบและยอดของกระเจี๊ยบแดงไปใส่ในแกง ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวในอาหารแล้ว ใบกระเจี๊ยบแดงยังแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด แก้ไอ ละลายเสมหะ ส่วนดอกใช้แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด 


          แต่ส่วนที่มีสรรพคุณมากเป็นพิเศษก็คือ ส่วนกลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล สามารถช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต นำไปทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบดื่มช่วยให้ร่างกายสดชื่น ลดความเหนียวข้นของเลือด ขับปัสสาวะ ป้องกันต่อมลูกหมากโตให้คุณผู้ชายได้ด้วย และมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า หากรับประทานกระเจี๊ยบแดงต่อเนื่อง 1 เดือน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลือด ทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว (LDL) ลดลง และยังเพิ่มไขมันชนิดดีคือ HDL ได้ด้วย

ฟ้าทะลายโจร 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง          ฟ้าทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้หวัดใหญ่ แก้ร้อนใน เพราะมีฤทธิ์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย หากรับประทานบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัดง่าย นอกจากเรื่องหวัดแล้ว ฟ้าทะลายโจรยังระงับอาการอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ขับเสมหะ รักษาอาการท้องเสีย ลำไส้อักเสบ รักษาโรคตับ เบาหวาน โรคงูสวัด ริดสีดวงทวาร และรสขมของฟ้าทะลายโจรยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย


          ข้อควรระวัง ก็คือ คนที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A , ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรูห์มาติค , มีอาการเจ็บคอ เนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย, เป็นความดันต่ำ และสตรีมีครรภ์ ไม่ควรทานฟ้าทะลายโจร  และหากใครทานแล้วเกิดปวดท้อง ปวดเอว วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกินไป เพราะอาจทำให้แขนขามีอาการชา หรืออ่อนแรงได้

ย่านาง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ย่านาง          ย่านางเป็นสมุนไพรรสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ดับพิษร้อน คนจึงนำใบย่านางไปคั้นเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ เพื่อเพิ่มความสดชื่น ปรับอุณหภูมิในร่างกาย และยังนำใบย่านางไปช่วยดับพิษไข้ ดับพิษของอาหาร แก้อาการผิดสำแดง แก้พิษเมา แก้เลือดตก แก้กำเดา ลดความร้อนได้ด้วย นอกจากใบแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของย่านางก็มีประโยชน์เช่นกัน ทั้ง "ราก" ที่ใช้แก้ไข้พิษ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู "เถาย่านาง" ใช้แก้ไข ลดความร้อนในร่างกาย 
          ขณะที่ข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุว่า ย่านาง ยังช่วยต้านมาลาเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ต้านฮีสตามีน ส่วนข้อมูลทางโภชนาการระบุว่า ย่านางมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย แถมยังอุดมไปด้วยเส้นในอาหาร แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส ย่านางจึงเป็นหนึ่งในจำนวนผักพื้นบ้านที่นักวิจัยแนะนำให้นำมาใช้ในรูปแบบอาหารเพื่อรักษาโรคมะเร็ง 


มะรุม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
          พืชสมุนไพรสุดแสนมหัศจรรย์ เพราะนอกจากจะนำมาปรุงอาหารรับประทานแล้วได้รับสารอาหารอย่างวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม ใยอาหาร แล้ว มะรุม ยังเป็นยาวิเศษรักษาที่ทุกส่วนสามารถใช้รักษาได้สารพัดโรค 

          เริ่มจาก "ราก" ที่จะช่วยบำรุงไฟธาตุ แก้อาการบวม "เปลือก" ใช้ประคบแก้โรคปวดหลัง ปวดข้อ รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ "กระพี้" ใช้แก้ไขสันนิบาด "ใบ" มีแคลเซียม วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ใช้แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ "ดอก" ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย "ฝัก" ใช้แก้ไข้หัวลม "เมล็ด" นำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้รักษาโรคปวดข้อ โรคเกาท์ รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา และ "เนื้อในเมล็ดมะรุม" ใช้แก้ไอได้ดี รวมทั้งยังเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้ด้วย หากรับประทานเป็นประจำ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทานมะรุม

มะแว้ง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง          มีทั้ง "มะแว้งต้น" และ "มะแว้งเครือ" ที่มีสรรพคุณเด่น ๆ คือ ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ เราจึงมักเห็นมะแว้งถูกนำมาผสมเป็นยาอมช่วยแก้ไอ ซึ่งตามตำรับยาแก้ไอแล้ว สามารถใช้ได้ทั้ง ราก ใบ ผล นอกจากนั้น ยังช่วยลดน้ำลายเหนียว บำรุงธาตุ รักษาวัณโรค แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไตและกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก และแก้โรคหอบหืดได้ด้วย

          นอกจากนั้น ลูกมะแว้งเครือสามารถนำไปปรุงอาหาร ทานเป็นผักได้ ส่วนลูกมะแว้งต้นก็ใช้ปรุงอาหารได้เช่นกัน แต่คนนิยมน้อยกว่าลูกมะแว้งเครือ 

รางจืด

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง          เมื่อพูดถึงสมุนไพรถอนพิษ หลายคนนึกถึง "รางจืด" หรือ "ว่านรางจืด" ทันที เพราะส่วนใบและรากของรางจืดสามารถปรุงเป็นยาถอนพิษยาฆ่าแมลงได้ มีประโยชน์ในเวลาที่หากใครเกิดเผลอทานยาฆ่าแมลง ยาพิษ หรือยาเบื่อเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และอยู่ไกลโรงพยาบาล การทานรากรางจืดก็จะช่วยบรรเทาพิษในเบื้องต้นได้ 

          นอกจากนั้นแล้ว รางจืด ยังสามารถปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ พิษแอลกอฮอล์ พิษสำแดง บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำได้ แล้วรู้ไหมว่า ยังมีงานวิจัยจากกลุ่มหมอพื้นบ้านพบว่า การนำรางจืดไปต้มแล้วนำมาอาบจะช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และหากนำรากรางจืดมาฝนกับน้ำซาวข้าวแล้วนำไปทาหน้า จะทำให้หน้าขาว ไม่มีสิวฝ้าอีกด้วย อุ้ย...สาว ๆ ยิ้มเลยทีนี้

กานพลู

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง          ใครที่ปวดฟัน นี่คือสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดี โดยตามตำรับยา ให้นำดอกที่ตูมไปแช่เหล้าขาว แล้วเอาสำลีไปชุบน้ำมาอุดรูฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ เพราะน้ำมันหอมระเหยในกานพลูมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ หรือจะเคี้ยวทั้งดอกแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันก็ได้ นอกจากนั้น ยังนำไปผสมน้ำเป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดกลิ่นปาก แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาดได้
          กานพลูยังมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ฉะนั้น ใครที่มีอาการปวดท้อง กานพลู ก็ช่วยลดอาการปวดท้อง ขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดจากการย่อยอาหารได้ เพราะจะไปช่วยขับน้ำดีมาย่อยไขมันได้มากขึ้น แถมยังกระตุ้นการหลั่งเมือก และลดภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหารได้ด้วย


หญ้าหนวดแมว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หญ้าหนวดแมว          ไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีสรรพคุณไม่น้อย โดย "ราก" สามารถใช้ขับปัสสาวะได้ "ใบ" ใช้รักษาโรคไต ช่วยขับกรดยูริกออกจากไต รักษาโรคเบาหวาน อาการปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต "ต้น" ก็ใช้แก้โรคไต ขับปัสสาวะได้เช่นกัน และยังช่วยรักษาโรคนิ่ว โรคเยื่อจมูกอักเสบได้ โดยนำต้นสด หรือต้นแห้ง หรือใบอ่อน หรือใบตากแห้ง ไปชงกับน้ำ 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ห้ามนำไปต้ม และไม่ควรใช้ใบแก่ หรือใบสด เพราะมีฤทธิ์กดหัวใจ ทำให้ใจสั่นและคลื่นไส้ได้


          ข้อควรระวังก็คือ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะในหญ้าหนวดแมวมีโพแทสเซียมสูงมาก และไม่ควรรับประทานหญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะจะยิ่งทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้มเนื้อหัวใจมากขึ้น



      จะเห็นได้ว่าสมุนไพรใกล้ตัวมากมายเหล่านี้มีประโยชน์อย่างที่นึกไม่ถึงมาก่อน แต่คำนึงไว้ด้วยว่า สมุนไพรจะรักษาโรคได้ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการใช้สมุนไพรตามตำรับยาด้วย และที่สำคัญ คือสมุนไพรบางชนิดก็ไม่เหมาะกับคนที่ป่วยด้วยโรคบางประเภท หรือสตรีมีครรภ์ ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูล และข้อควรระวังทุกครั้งก่อนจะใช้สมุนไพรจะดีที่สุด

https://health.kapook.com/view37827.html   



สมุนไพรเพื่อสุขภาพมีขัอดีข้อเสีย.....

ข้อดีของสมุนไพร


1.  สมุนไพรมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด  คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย



2. ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว



3. ไม่เสี่ยงอันตราย ต่อการใช้ยาเกินขนาด เพราะตัวยาในสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาตปริมาณยาเจือจางไม่เข้มข้น



4. สมุนไพรชิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้ เช่น  หอมหัวใหญ่ กระเทียม โสน เห็ดหลินจือ เป็นต้น



 5. สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง บางชนิดได้รับความสนใจ จากอุสาหกรรมยานำมาผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันแล้ว เช่น ระย่อม แป๊ะก๊วย เห็ดหลินจือ น้ำองุ่น เป็นต้น



6. ช่วยลดความฟุ่มเฟื่อย ในการใช้ยาต่างประเทศที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง เพราะ สมุนไพรหาง่าย ให้รสอร่อย เช่น น้ำลูกยอ น้ำทับทิบ น้ำองุ่น เป็นต้น 



7. สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยสมุนไพรใช้เป็นยา เป็นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศได้ ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขตามแผนพัศนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบัยที่ 6 กระทรวงได้กำหนดแผนการพัฒนาสมุนไพร ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานและแผนงานยา และชีววัตถุ มีงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร และโครงการพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยาในอุสาหกรรมผลิตยา และเศรษฐกิจโดยรวมของชาติต่อไป



 8. ตอบสนองนโยบาย ของผู้บริหารกทม.(พศ.2548 ) ในการกำหนดนโยบายของสำนักอนามัยให้บริการแพทย์ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และสนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่กำหนดให้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพร ให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่น




ข้อเสียของสมุนไพร


1. ปัจจุบันข้อมูลการวิจัยสมุนไพรในเมืองไทยมีน้อย 

และไม่ต่อเนื่องเพียงพอ ที่จะต่อยอดไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมยาได้


2. การเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านสมุนไพรในรูป หนังสือ หรือสื่ออื่นๆ 

ยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความนิยม ความเชื่อมั่น ในการใช้สมุนไพร


3. ความไม่สะดวกในการบริโภคยาในสมุนไพรแต่ละชนิด(ในธรรมชาติ) มีตัวยาอยู่น้อยและไม่คงตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคพืชสมุนไพรจำนวนมาก และนำมาปรุงใหม่ๆสดๆวันต่อวัน ซึ่งไม่สะดวกต่อผู้บริโภค บางชนิดก็หายากเป็นอุปสรรคในการใช้สมุนไพร


4.  สมุนไพรบางชนิดต้องเสี่ยงกับความไม่สะอาด  ปนเปื้อนจากเชื้อรา เนื่องจากกรรมวิธี ในการเก็บ หรือการผลิตไม่สะอาด และมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงได้ กรณีไม่ตรวจสอบเฝ้าระวัง วัตถุดิบที่เก็บมาให้ถูกต้อง


5. สมุนไพรบางชนิดยังโตไม่เต็มที่ เกษตรกรรีบเก็บมาขาย 

ทำให้ตัวยาสมุนไพรมีน้อยไม่เข้ามาตรฐานอาจทำไห้ผลในการรักษาไม่เต็มที่ 



 6. รัฐบาลยังควบคุมมาตรฐานการผลิตสมุนไพรในโรงงานยาต่างๆไม่ทั่วถึง 

ทำให้ยาสมุนไพรที่วางจำหน่ายไม่ได้มาตรฐาน ขาดประสิทธิภาพในการรักษาโรค


7. ประชาชนยังไม่รู้จักต้นไม้สมุนไพรบางชนิด เพราะหายาก 

ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทำให้เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี 


        ณ วันนี้ แพทย์และเภสัชกรแผนปัจจุบันควรตื่นตัว และตระหนักในบทบาทวิชาชีพของตนเอง  ควรให้ความสำคัญต่อการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลอย่างชาญฉลาด รวมทั้งมีการผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ (ผลการทดลองวิจัย) เข้ากับตำรายาไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษโดยพิจารณาไปถึง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย พิษภัยของสมุนไพร เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลของสมุนไพรต่างๆ ซ้ำรอยแพทย์แผนโบราณ ทำให้พบความลับใหม่ๆ ของสมุนไพร อันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต "

       

อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/438570